หน้าหลัก > การสำรวจความต้องการด้านธรรมภิบาลข้อมูลของการรถไฟแห่งประเทศไทย > สรุปบทสัมภาษณ์ของผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
การสำรวจความต้องการด้านธรรมภิบาลข้อมูลของการรถไฟแห่งประเทศไทย
- สรุปบทสัมภาษณ์ของผู้ว่าการรถไฟฯ
- สรุปบทสัมภาษณ์ของรองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
- การวิเคราะห์ SWOT&TOWS
สรุปบทสัมภาษณ์ของผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
เมื่อวันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เวลา 9.00 – 11.00 น. ทางคณะที่ปรึกษาและออกแบบธรรมาภิบาลข้อมูลเข้าสัมภาษณ์ นายวรวุฒิ มาลา ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย 7 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาลข้อมูลของการรถไฟ ได้ดังต่อไปนี้
การบริหารจัดการข้อมูลที่ดีควรเริ่มจากการบริหารจัดการข้อมูลให้ไม่กระจัดกระจายโดยรวมข้อมูลให้อยู่ในแหล่งการจัดเก็บที่มีมาตรฐานเดียวกัน โดยหลักการจัดการบริหารข้อมูลนี้ คือการทำให้ข้อมูลมีระเบียบ สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล รวมถึงการมีผู้รับผิดชอบต่อการดูแลข้อมูลได้อย่างชัดเจน เพื่อรองรับข้อมูลที่มีมากมายในปัจจุบันและอนาคต
การรถไฟแห่งประเทศไทยเล็งเห็นความสำคัญด้านการจัดการข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการรถไฟฯ ให้มีความสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ เข้าด้วยกัน แบบมีมาตรฐานในการเข้าถึงจุดเดียวที่หน่วยงานทุกหน่วยงาน สามารถเข้ามาเรียกดูข้อมูลและทำงานบนข้อมูลที่มีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อลดการขัดแย้งกันของข้อมูล และทำให้กระบวนการทำงานมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น เนื่องจากสามารถเรียกดูข้อมูลได้แบบสามารถใช้ได้ทันที และปฏิบัติงานบนข้อมูลที่ถูกต้อง
ข้อมูลที่เกี่ยวกับระบบภายในที่ให้ความสำคัญ ได้แก่ ข้อมูลทางการบัญชีและการเงิน, ข้อมูลทางด้านการซ่อมบำรุงทรัพยากรของการรถไฟ, ข้อมูลของทางฝ่ายทรัพยากรบุคคล และข้อมูลเกี่ยวกับการขายตั๋วโดยการนำข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมานี้ นำมาสร้างมาตรฐานทางข้อมูลให้มีในระดับเดียวกัน สามารถนำข้อมูลที่ได้มาติดตามสถานะต่างๆ อาทิ งบประมาณการเบิกจ่าย, การจองตั๋วล่วงหน้า, การซ่อมบำรุง รวมถึงทรัพยากรบุคคลของทางการรถไฟฯ
ระบบควบคุมด้านข้อมูล นี้สำคัญ โดยระบบนี้จะต้องคอยกำกับดูแลข้อมูลเชิงคุณภาพ อาทิ การแบ่งลำดับขั้นของการรักษาความปลอดภัยตามลำดับขั้นของข้อมูล ลำดับการทำข้อมูลให้ชัดเจน, ข้อมูลมีความโปร่งใสตรวจสอบที่มาของข้อมูลได้ รวมถึงการใช้งานข้อมูลต้องสามารถตัดสินใจเร่งด่วนได้
เรื่องบุคลากรของการรถไฟปัจจุบัน คือขาดกำลังคนระดับปฏิบัติการที่ต้องมาปฏิบัติงานและดูแลกำกับงานให้เกิดผลเพื่อนำมาบริหารจัดการและบุคลากรจำนวนมากยังขาดด้านความรู้และทักษะ เกี่ยวกับการบริหารจัดการข้อมูล
ผู้บริหารให้ความสำคัญที่จะมีนโยบายกำกับดูแลข้อมูลของการรถไฟฯ โดยการมองเป็นภาพรวมทั้งองค์กรมากกว่าการมองบริหารจัดการเฉพาะฝ่ายงานเท่านั้น ถ้าหน่วยงานสามารถปฏิบัติได้มีและมีแนวทางแนะนำที่ดีการรถไฟฯจะมีธรรมาภิบาลข้อมูลที่มีมาตรฐานโปร่งใสตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการตัดสินใจและปฏิบัติงานที่ดียิ่งขึ้น
ตอนนี้ทางการรถไฟก้าวสู่จุดการบริหารจัดการให้ข้อมูลใช้งานได้แบบทันทีนั้นคงเป็นไปได้ยาก เพราะยังไม่มีการตรวจสอบข้อมูลในแต่ละส่วน และฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่มีการทำข้อมูลอย่างต่อเนื่องและมองแค่การนำข้อมูลไปใช้เฉพาะแค่หน่วยงานของตนเอง โดยอุปสรรคหลักๆ มี 3 อย่าง
- ปัญหาเชิงข้อมูล : ข้อมูลมีความกระจัดกระจาย ใช้ระบบมาจัดการแล้วยังไม่สำเร็จเพราะข้อมูลของทางแต่ละหน่วยงานยังแยกกันเก็บแยกกันใช้ รวมไปจนถึงข้อมูลด้านการจัดสรรบัญชีและต้นทุนยังไม่มีการจัดการทำให้ได้ข้อมูลล่าช้าที่จะนำมาตัดสินใจ ลักษณะของข้อมูลมีเยอะมากและข้อมูลก็มีเยอะมาก ทำให้เกิดปัญหาข้อมูลมีการสูญหายและข้อมูลยังคงซ้ำซ้อนกัน
- ปัญหาเชิงเทคนิค : ระบบยังคงเก็บข้อมูลเดิมเอาไว้ ไม่มีการจัดการข้อมูลก่อน-ใหม่ตามลำดับข้อมูล ทำให้มีข้อมูลคงค้างในระบบเยอะแต่ไม่สามารถนำมาปฏิบัติงานและตัดสินใจได้ จึงส่งผลทำให้การประมวลผลข้อมูลมีความล่าช้า ทำให้ต้องพึ่งระบบจากหน่วยงานภายนอก
- ปัญหาเชิงบุคลากร : การทำงานของบุคลากรยังคงใช้ในรูปแบบเดิม เช่นได้ข้อมูลลูกค้าเข้ามา เอาเข้าระบบแบบเดิมไร้การตรวจสอบ ไม่มีการทบทวนระบบการทำงาน จำนวนบุคลากรไม่เพียงพอให้ปฏิบัติงานและยังขาดความรู้ความสามารถอีกหลายๆ ด้านเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านนโยบาย ด้านระบบสารสนเทศและข้อมูล ด้านกระบวนการทำงานและด้านบุคลากร รายละเอียดดังนี้
- ปัญหาและอุปสรรค
ด้านนโยบาย
ขาดนโยบายในการกำหนดความรับผิดชอบของสิทธิการเข้าถึงข้อมูล
ด้านระบบสารสนเทศและข้อมูล
ระบบสารสนเทศมีข้อมูลคงค้างเก่าไม่สามารถนำปฏิบัติงานได้จริง
ข้อมูลเยอะไม่สามารถจัดการได้
ขาดข้อมูลที่ไร้ความสามารถแบบใช้งานทันที
ขาดมาตรฐานในการจัดเก็บข้อมูล
ขาดการเชื่อมโยงข้อมูลภายใน
ด้านกระบวนการทำงาน
มีกระบวนการทำงานซ้ำซ้อนระหว่างฝ่ายงาน
มีการทำงานและดำเนินการตรวจสอบที่ล่าช้า
มีการทำงานในรูปแบบเดิมไร้การตรวจสอบ
ขาดการทบทวนในกระบวนการทำงาน
ด้านบุคลากร
ขาดกำลังคนด้านการปฏิบัติงานธรรมาภิบาลข้อมูล
ขาดผู้รับผิดชอบหลักในการทำธรรมาภิบาลข้อมูล
เจ้าหน้าที่ขาดความรู้และทักษะในการทำธรรมาภิบาลข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ความต้องการ
ด้านนโยบาย
ต้องการให้เกิดการมีนโยบายในการธรรมาภิบาลข้อมูลที่สามารถนำไปปฎิบัติงานได้จริงและเข้าถึงทุกฝ่ายงาน
ด้านระบบสารสนเทศและข้อมูล
ต้องการให้ข้อมูลของหน่วยงานภายในสามารถเชื่อมโยงกันได้
ต้องการให้ข้อมูลของการรถไฟฯ มีการใช้ข้อมูลแบบเข้าถึงจุดเดียวกัน
ต้องการให้หน่วยงานภายในการรถไฟฯ เรียกดูข้อมูลและทำงานบนมาตรฐานการกำกับดูแลข้อมูลที่มีมาตรฐานเดียวกัน
ต้องการให้กำหนดสิทธิในการเป็นเจ้าของข้อมูล
ด้านกระบวนการทำงาน
ต้องการระบบในการจัดทำเรื่องการควบคุมข้อมูลเพื่อกำกับข้อมูลเชิงคุณภาพของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ต้องการให้ทบทวนกระบวนการทำงานภายในของการรถไฟฯ
ด้านบุคลากร
ต้องการให้มีการพัฒนาบุคลากรควบคุมเรื่องธรรมาภิบาลข้อมูลเพื่อให้เป็นระเบียบในการตรวจสอบข้อมูลตามแผนธรรมาภิบาลข้อมูลได้เกิดประสิทธิภาพอย่างแท้จริง