หน้าหลัก > การสำรวจความต้องการด้านธรรมภิบาลข้อมูลของการรถไฟแห่งประเทศไทย > สรุปบทสัมภาษณ์ของรองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
การสำรวจความต้องการด้านธรรมภิบาลข้อมูลของการรถไฟแห่งประเทศไทย
- สรุปบทสัมภาษณ์ของผู้ว่าการรถไฟฯ
- สรุปบทสัมภาษณ์ของรองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
- การวิเคราะห์ SWOT&TOWS
สรุปบทสัมภาษณ์ของรองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
เมื่อวันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เวลา 9.00 – 10.30 น. ทางทีมวิเคราะห์และออกแบบธรรมาภิบาลข้อมูลเข้าสัมภาษณ์ นางสิริมา หิรัญเจริญเวช รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
กลุ่มยุทธศาสตร์ 7 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาลข้อมูลของการรถไฟ ได้ดังต่อไปนี้
สิ่งแรกที่ควรพิจารณาก่อนการเป็นผู้ให้บริการระบบที่ดีที่สุดในอาเซียนของการรถไฟ คือ ณ.ปัจจุบันระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ของการรถไฟในปัจจุบันมีน้อยมาก รวมถึงยังมีระบบแยกย่อยของแต่ละหน่วยงานในองค์กรอีกมากมาย ซึ่งการปฏิบัติงานของหน่วยงานมีลักษณะต่างคนต่างทำ ทำให้ไม่เกิดความมีมาตรฐานเดียวกัน และที่สำคัญไปกว่านั้นต้องการให้มีการจัดการระบบสารสนเทศขนาดใหญ่ให้มีขนาดเพียงพอสำหรับการตัดสินใจของผู้บริหารก่อน
ปัจจุบันการจัดการข้อมูลที่ดีของรฟท.ยังมีปัญหาเรื่องข้อมูลขาดความการพร้อมใช้งานทันที ทำให้ประสบปัญหาความแม่นยำในการวิเคราะห์ลดลง ร่วมถีงขาดการบูรณาการข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ซึ่งทำให้เกิดปัญหาเวลาส่งรายงานหน่วยงานภายนอก ซึ่งกลับพบปัญหาคือข้อมูลลักษณะเดียวกันแต่ความหมายของข้อมูลไม่เหมือนกัน ทำให้ข้อมูลขาดความน่าเชื่อถือ โดยตอนนี้การรถไฟเริ่มมีการนำข้อมูลจากหน่วยงานภายนอกมาใช้งาน โดยอยู่ขั้นตอนของการจัดทำให้มีความน่าเชื่อถือมากพอ โดยมีข้อมูลของตารางเวลาเดินรถ และข้อมูลประชาสัมพันธ์การสำรองนั่ง โดยเพื่อตอบสนองการเป็นรัฐบาลยุคดิจิตอลที่ภาครัฐต้องการบูรณการข้อมูลร่วมกันกับหน่วยงานภายนอกแต่ทางการรถไฟฯ ยังขาดข้อมูลที่จะไปเชื่อมโยงกับหน่วยงานภาครัฐไม่เพียงพอ
ข้อมูลที่เกี่ยวกับระบบภายในที่ให้ความสำคัญ ได้แก่ ข้อมูลของพนักงาน, ข้อมูลเกี่ยวกับตั๋ว โดยการจัดเก็บข้อมูลจะต้องมีการนำเครื่องมือมาทำให้เกิดความซ้ำซ้อนน้อยลง และปัจจุบันจะมีการเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อทำระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกระทรวงคมนาคมที่ทำให้เห็นข้อมูลของการเดินรถไฟแบบทันทีและจะมีการทำแผนดิจิทัล เพื่อนำข้อมูล 2 ระบบนี้มาเชื่อมโยงเข้าด้วยกันในอนาคต
การธรรมาภิบาลข้อมูลต้องมีการแบ่งความรับผิดชอบต่อข้อมูลโดยการกำหนดตามหน้าที่ของข้อมูลและระบุถึงสิทธิการเข้าถึงข้อมูลนั้นๆ อย่างชัดเจน โดยการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลควรตอบสนองกับข้อมูลในอนาคตที่กำหนดไว้
ปัจจุบันการรถไฟมีคณะกรรมการต่างๆ เข้ามาดูแลและมีตัวแทนของแต่ละฝ่ายงานของแต่ละภาคส่วน เข้ามามีส่วนร่วมและหารือเกี่ยวกับธรรมาภิบาลข้อมูลว่าควรไปในทิศทางใดอยู่แล้ว แต่ยังขาดตรงที่คณะกรรมการเข้ามาประชุมหารือกันควรบ่อยมากครั้งกว่านี้ เพื่ออัพเดตด้านข้อมูลและรีวิวให้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือแม่นยำมากยิ่งขึ้น
สิ่งที่จะทำให้งานด้านธรรมาภิบาลนั้นสำเร็จได้นั้นต้องมีการทบทวนภาคนโยบาย และตรวจสอบข้อมูลในแต่ละภาคส่วนงาน รวมถึงการสร้างระบบที่กำหนดสิทธิให้เพียงพอต่อความต้องการ และควรมีการทบทวนปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆ เพื่อนำมาสรุปทางแก้ไขให้ไวที่สุด สุดท้ายในมุมมองของผู้ปฏิบัติงาน ต้องมีความชัดเจนในเรื่องของหน้าที่การกำกับดูแลและในการเข้าถึงข้อมูล
ปัจจุบันพนักงานในแต่ละภาคส่วนมีการลดลงเรื่อยๆ แต่หน้าที่แต่ละรายบุคคลเพิ่มมากขึ้น การตรวจสอบของพนักงานแต่ละบุคคลจึงเป็นเรื่องยาก ซึ่งการรถไฟพยายามพัฒนาระบบที่จะลดภาระของพนักงาน โดยปัจจุบันให้หัวหน้าฝ่ายงานเป็นผู้ดูแล ตรวจสอบและรับรองข้อมูล และการตรวจสอบข้อมูลของการรถไฟยังมีความล่าช้าในการดำเนินการ และต้องการให้มีระบบในการตรวจสอบ และการควบคุมที่สามารถระบุได้ว่าใครออกข้อมูล,บุคคลใดเป็นคนออกข้อมูล อีกอย่างที่เป็นอุปสรรคคือความรู้และทักษะของแต่ละบุคคลในเรื่องของการนิยามและความเข้าใจในเรื่องของธรรมาภิบาลข้อมูลให้ตระหนักมากยิ่งขึ้น
โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านนโยบาย ด้านระบบสารสนเทศและข้อมูล ด้านกระบวนการทำงานและด้านบุคลากร รายละเอียดดังนี้
- ปัญหาและอุปสรรค
ด้านนโยบาย
ขาดนโยบายในการกำหนดความรับผิดชอบของสิทธิการเข้าถึงข้อมูล
ด้านระบบสารสนเทศและข้อมูล
มีระบบทำงานแบบซ้ำซ้อนและต่างคนต่างทำ
ขาดระบบการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร
ขาดข้อมูลที่ใช้ตัดสินใจและวิเคราะห์แบบทันที
ขาดมาตรฐานในการจัดเก็บข้อมูล
ขาดการเชื่อมโยงข้อมูลภายในและภายนอกหน่วยงาน
ด้านกระบวนการทำงาน
มีกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อนระหว่างฝ่ายงานหน่วยงานภายใน
มีการดำเนินงานตรวจสอบข้อมูลล่าช้า
ด้านบุคลากร
เจ้าหน้าที่ขาดความรู้และทักษะด้านการกำกับดูแลข้อมูลและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
เจ้าหน้าที่มีภาระงานเพิ่มมากขึ้นโดย เจ้าหน้าที่หนึ่งคนมีหลายหน้าที่งาน
- ความต้องการ
ด้านระบบสารสนเทศและข้อมูล
ต้องการให้เกิดการบูรณาการแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภายในและภายนอกหน่วยงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ต้องการให้มีมาตรฐานกระบวนการในการจัดเก็บข้อมูล
ต้องการให้หน่วยงานภายใต้สังกัดการรถไฟแห่งประเทศไทย มีการใช้มาตรฐานในการจัดเก็บและจัดการข้อมูลบนมาตรฐานเดียวกัน
ด้านกระบวนการทำงาน
ต้องการระบบในเรื่องของการควบคุมและตรวจสอบในกระบวนการทำงานว่าใครเป็นคนดูแลข้อมูลส่วนใด มีสิทธิมากน้อยเท่าไร
ด้านบุคลากร
ต้องการปรับหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการกำกับดูแลข้อมูลของเจ้าหน้าที่แต่ละบุคคล เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของกระบวนการนำข้อมูลมาใช้
ต้องการพัฒนาเจ้าหน้าที่ให้มีทักษะในการเรียนรู้แบบการพัฒนาความคิดเพื่อให้ฉลาดรู้ด้านข้อมูลและเทคโนโลยี